พระเจดีย์ คือ สถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
๑. ธาตุเจดีย์ คือ พระบรมสารีริกธาตุ
๒. บริโภคเจดีย์ คือ สังเวชนียสถาน ๔ ตำบล
๓. ธรรมเจดีย์ คือ จารึกข้อพระธรรม
๔. อุเทสิกเจดีย์ คือ พระพุทธรูป ธรรมจักร รอยพระพุทธบาท พระแท่นวัชรอาสน์ หรือสัญลักษณ์แทนพระพุทธเจ้า
สรุปได้ในที่นี้ว่า สิ่งที่ควรบูชาสักการะสูงสุดของชาวพุทธคือเจดีย์ ๔ ประเภทดังกล่าว โดยเฉพาะธาตุเจดีย์นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง การหายไปของ พระธาตุหรือพระบรมสารีริกธาตุเป็นเครื่องแสดงถึงความเสื่อมของศาสนาอย่าง หนึ่ง เรียกว่า "ธาตุอันตรธาน" แต่การหายไปของธาตุที่ว่านี้ไม่ได้หมายถึงว่าพระธาตุ หรือพระบรมสารีริกธาตุนั้นหายไปจากโลกนี้ เป็นเพียงการหายไปจากที่หนึ่งที่คนไม่นิยมปฏิบัติธรรมแล้วไปปรากฏในอีกที่ หนึ่งที่คนนิยมปฏิบัติธรรม หรืออาจไม่ปรากฏในที่ไหนเลยจนกว่าจะมีคนปฏิบัติธรรม จึงจะปรากฏให้เห็นเหตุการณ์อย่างนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อไม่มีการบูชา สักการะ พระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานอยู่ในที่ต่างๆ ตำนานบอกว่า ถ้าทั่วทุกหนทุกแห่งไม่มีผู้บูชาสักการะเลย พระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายจากมนุษยโลก เทวโลก และภพพญานาค จะเสด็จมาสู่ต้นพระศรีมหาโพธิ์สถานที่ตรัสรู้ทั้งหมด รวมกัน เป็นรูปพระพุทธองค์ ทรงประดิษฐาน ณ โคนต้นพระมหาโพธิ์นั้น ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ แต่ไม่มีมนุษย์คนใดหรือสัตว์โลกตนใดเห็นพระองค์เลย
เพราะฉะนั้น คำว่า "ธาตุอันตรธาน" ไม่ได้หมายถึงว่า ธาตุสูญสิ้นไป จากโลก แต่หมายถึงหายไปไม่ปรากฏให้เห็น พระพุทธดำรัสที่ตรัสกับ พระอานนท์คราวหนึ่งว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้น เห็นธรรม" ถ้าจะอธิบายในอีกลักษณะหนึ่งก็ได้ว่า ผู้ปฏิบัติธรรม บำเพ็ญ คุณความดี มีคุณธรรมประจำใจ ก็จะเห็นพระพุทธเจ้า คำว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา" มี ๒ นัย
นัยที่ ๑ หมายถึงว่า ขณะที่พระพุทธเจ้า ยังทรงพระชนม์อยู่ คนที่อยู่ห่างไกลประสงค์จะเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไกลเพื่อไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ก็ได้ แต่ให้ผู้นั้นปฏิบัติธรรม ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา พระพุทธเจ้าก็จะเปล่งรัศมีมี ๖ สีไปแสดงพระองค์ปรากฏต่อหน้าผู้นั้น นี่คือนัยของคำว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา"
นัยที่ ๒ หมายถึงว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ไปแล้ว ผู้ประสงค์จะเห็นพระพุทธเจ้า ขอให้อธิษฐานจิตบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา กล่าวคำอธิษฐานขอให้พระบรมสารีริกธาตุเสด็จมา ณ ภาชนะหรือสถานที่เหมาะสมซึ่งจัดเตรียมเอาไว้ เมื่อทำความดีถึงขั้น พระบรมสารีริกธาตุก็จะเสด็จมาตามที่ปรารถนา
การจะบูชาพระบรมสารีริกธาตุนั้นก่อนอื่นต้องชำระล้างร่างกาย ทำจิตใจ ให้สะอาดผ่องใส จัดหาดอกมะลิใส่ภาชนะบูชา ตั้งสักการะ ณ ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แล้วจุดธูปและเทียน ตั้งใจให้เป็นสมาธิ กราบ 3 ครั้ง แล้วจึงตั้งนะโม 3 จบ กล่าวคำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
คำกล่าวบูชาพระบรมสารีริกธาตุ มีอยู่มากมายทั้งภาษาบาลี และภาษาไทย แต่ที่พบเห็นกันอยู่โดยทั่วไป และกระทำได้โดยง่ายนั้นคือ
คำกล่าวพรรณนาพระบรมสารีริกธาตุ
" อะหัง วันทามิ ทูระโต
อะหัง วันทามิ ธาตุโย
อะหัง วันทามิ สัพพะโส "
การบูชาพระธาตุนั้น นอกเหนือจากการบูชาด้วย "อามิสบูชา" เช่น การบูชาด้วยดอกไม้ ธูปเทียน และ เครื่องหอมต่างๆแล้ว การบูชาด้วยการ "ปฏิบัติบูชา" ซึ่งเป็นวิธีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ เป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่นิยมปฏิบัติควบคู่ไปด้วย ในการบูชาซึ่งพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุทั้งหลาย โดยทั่วไปนิยมปฏิบัติตามแนวอริยมรรค 8 ประการ สรุปโดยย่อได้แก่
1. การบูชาด้วยศีล ซึ่งศีลเป็นพื้นฐานและเป็นที่ตั้งมั่นแห่งการทำความดี เป็นเกราะป้องกันความชั่วทั้งปวง ไม่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ทำให้เกิดความพร้อมต่อการปฏิบัติสมาธิ (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
2. การบูชาด้วยสมาธิ ซึ่งการสวดมนต์ภาวนา นั่งสมาธิ ดูลมหายใจเข้า-ออก เป็นการฝึกความเข้มแข็งของจิต ให้มีกำลังในการพิจารณาหลักธรรมต่างๆได้ตามความเป็นจริง (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
3. การบูชาด้วยปัญญา คือการใช้ปัญญาพิจารณาหลักความเป็นจริง ตามหลักไตรลักษณ์ (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)
วิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ
สำหรับบ้านที่มีพระบรมสารีริกธาตุไว้บูชาอยู่แล้วคงจะทราบดี เป็นที่น่าแปลกคือ พระบรมสารีริกธาตุนั้น สามารถเพิ่ม หรือลดจำนวนได้เอง โดยสามารถเสด็จไปไหนมาไหนเองก็ได้ แม้ว่าจะเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิทดีสักเท่าใดก็ตาม โดยเชื่อกันว่าหากไม่ดูแลรักษาเอาใจใส่ ประดิษฐานไว้ในที่ไม่สมควร หรือขาดการถวายความเคารพแล้ว พระบรมสารีริกธาตุอาจเสด็จหายจากสถานที่นั้นๆ ก็เป็นได้ โดยทางตรงกันข้าม หากได้รับการปฏิบัติบูชาดี ผู้สักการบูชา มีกาย วาจา ใจ สะอาดบริสุทธิ์ อยู่ในศีลธรรม พระบรมสารีริกธาตุก็อาจเพิ่มจำนวนได้เช่นกัน ดังที่ปรากฏใน คัมภีร์มโนรถปูรณี (อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต)
วิธีอัญเชิญโดยทั่วๆไปมีดังนี้
1. จัดที่บูชาให้สะอาด
2. ตั้งพานมะลิบูชา (ถ้ามี)
3. นำน้ำสะอาดใส่ขันสัมฤทธิ์ตั้งไว้หน้าที่บูชา (ตามวิธีโบราณ)
4. ชำระล้างร่างกายให้สะอาด
5. ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง มีสมาธิ
6. สมาทานศีล
7. ระลึกถึงพระพุทธคุณ (ตั้งนะโม 3 จบ แล้วสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ อิติปิโสฯ)
8. สวดคาถาอัญเชิญพระธาตุ ดังนี้
" อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณังคะโต อัสสามิมะหันตา ภินนะมุคคา จะ มัชฌิมา
ภินนะตัณฑุลาขุททุกะ สาสะปะมัตตา เอวัง ธาตุโย สัพพัฏฐาเน อาคัจฉันตุ สีเสเม ปะตันเต "
หรือ
" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ "
* การเสด็จมามีด้วยกันหลายวิธี เช่น เสด็จมาเองโดยปาฏิหาริย์ มีผู้มอบให้ แบ่งองค์ ฯลฯ